วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรเเกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (PASCAL)



http://cha3uuky.exteen.com/20110708/entry

ภาษาปาสคาลพัฒนาโดย Niklaus Wirth ในปีค.ศ. 1970 ได้รับความนิยมในสมัยนั้น เนื่องจาก
1.รูปแบบคำสั่งเป็นภาษามนุษย์
2.โปรแกรมมีลักษณะเป็นโครงสร้าง
3.มีตัวแปลภาษาในหลายระบบปฏิบัติงาน

*โครงสร้างของภาษาปาสคาลเบื้องต้น
  แบ่งเป็น 3ส่วนคือ
  1. ส่วนหัวโปรแกรม(Head Part) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตาม  ด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย;
  2. ส่วนประกาศ(Declarations Part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และ  เป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้
   1.VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร
   2.TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่
   3.CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่
   4.LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม
  3. ส่วนเขียนคำสั่ง(Statements Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้าย  ด้วย “END.”

-ชื่อ (Identifier)
  ชื่อ คือคำที่ตั้งขึ้นเพื่อกำหนดใช้เป็นชื่อของโปรแกรม โปรแกรมย่อย ตัวแปร แบบของตัวแปร และค่า       คงที่

  การตั้งชื่อ
  1. ตัวอักขระ (character) ที่นำมาใช้ คือ ตัวอักษร ตัวเลข และ (_) Underline
  2. จะนำเครื่องหมายใด ๆ มาใช้เป็นชื่อไม่ได้
  3. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร หรือขีดล่าง
  4. ความยาวของชื่อไม่เกิน 30 ตัว แต่จะมีความหมายเพียง 8 ตัวแรกเท่านั้น

+คำ (Word)
  คำในภาษาปาสคาล แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
  1. พวกที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ได้แก่ แบบของข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่
  2. พวกที่เกี่ยวกับคำสั่ง ได้แก่ คำสงวน (Reserved word) คำมาตรฐาน (Standard word) คำใหม่ (User       defined word)

-ข้อมูล (Data)
  ภาษาปาสคาล แบ่งประเภทของข้อมูลเป็น 4 แบบ คือ แบบมาตรฐาน แบบผู้เขียนโปรแกรมกำหนด         แบบ  โครงสร้าง และแบบพอยน์เตอร์
  แบบมาตรฐาน เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในโปรแกรมทั่ว ๆ ไป เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นลำดับที่มีค่ามากน้อย     ตามลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภท
  1. Integer เป็นข้อมูลเลขจำนวนเต็ม
  2. Real เป็นข้อมูลเลขจำนวนจริงมีทศนิยม
  3. Character เป็นข้อมูลตัวอักษร
  4. String เป็นข้อมูลของชุดตัวอักษร เช่น String [30] เป็นการะบุค่าของสตริงว่ามีขนาด 30 ตัวอักษร
  5. Boolean เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นไปได้ 2 ค่า คือ เป็นจริง (true), เป็นเท็จ (false) ตัวดำเนินการ (operators)   ที่ใช้ในภาษาปาสคาล

https://www.phanpha.com/product/
ภาษาปาสคาลอนุญาตให้ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดรูปแบบของข้อมูลขึ้นมาใช้งานเฉพาะภายในโปรแกรมได้เอง โดยการประกาศไว้ในคำสั่ง VAR หรือ TYPE แบ่งเป็น 2 แบบ
1. กำหนดแบบใหม่ เป็นการกำหนดรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อใช้เฉพาะโปรแกรมนั้น ๆ
2. กำหนดช่วงของค่าข้อมูล เป็นการกำหนดช่วงของค่าของข้อมูลเฉพาะตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งที่ใช้ภายในโปรแกรม


*คำสั่งในการเขียนโปรแกรม

        คำสั่งประกาศตัวแปร
            var a,b,c : integer;
            - ประกาศตัวแปร a,b,c เป็นชนิด integer
            const tax = 0.07;
            - ประกาศตัวแปร tax เป็นชนิดค่าคงที่ และกำหนดค่าเท่ากับ 0.07

        คำสั่งรับค่า
            read(x);
            - รับค่าจากแป้นพิมพ์ เก็บไว้ในตัวแปร x
            readln(y);
            - รับค่าจากแป้นพิมพ์ เก็บไว้ในตัวแปร y แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
            readln;
            - คำสั่งรอรับการ enter

        คำสั่งแสดงผล
            write(‘ข้อความ’);
            - สั่งแสดง ข้อความ ออกทางจอภาพ
            writeln(‘ข้อความ’);
            - สั่งแสดง ข้อความ ทางจอภาพ แล้วขึ้นบรรทัดใหม่


  แหล่งอ้างอิง
http://cha3uuky.exteen.com/20110708/entry
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html
http://kroooum.tripod.com/lesson1.htm
http://www.oocities.org/wanida987/pascal.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น